วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สิ่งที่ดีที่สุดจากวันวานถึงวันนี้

Social Media กับ Social Network แตกต่างกันอย่างไร

อ่านเจอ...เก็บมาฝาก นานมาแล้ว
             Social Media กับ Social Network แตกต่างกันอย่างไร

   Social หมายถึง "สังคม" ซึ่งในที่นี้ก็จะหมายถึง สังคมออนไลน์นั่นเอง
 Media
หมายถึง "สื่อ" ซึ่งในที่นี้ก็จะหมายถึงสื่อในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง วีดิโอ ข้อความ เป็นต้น
 
      ดังนั้น Social Media ก็น่าจะหมายความว่า สื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยใช้สื่อต่างๆ เป็นตัวแทนในการสนทนา โดยได้มีการจัดแบ่งประเภทของ Social Media ออกเป็นหลายประเภท เช่น ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ (Publish) ที่มี Wikipedia, Blogger เป็นต้น, ประเภทสื่อแลกเปลี่ยน (Share) ที่มี YouTube, Flickr, SlideShare เป็นต้น,   ประเภทสื่อสนทนา (Discuss) ที่มี MSN, Skype, Google Talk เป็นต้น และยังมีอีกหลายประเภท โดยอีกประเภทของ Social Media ที่สร้างความสับสนให้บ้าง ก็คือ ประเภทเครือข่ายสังคมออนไลน์       หรือที่เรียกกันว่า Social Network ที่มี Facebook, LinkedIn, Google+ เป็นต้น
         Social Network  จึงเป็นส่วนหนึ่งของ Social Media นั่นเอง ถ้าจะพูดรวมสื่อสังคมออนไลน์ทั้งหมด เราก็จะใช้คำว่า Social Media แต่ถ้าต้องการเน้นเฉพาะเครือข่ายสังคมออนไลน์แล้ว เราก็จะใช้คำว่า Social Network นั่นเอง
           ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 13 กันยายน 2554

พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค (Facebook ) กับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสื่อสาร

พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค (Facebook ) กับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสื่อสาร

          หากมีครูหรือาจารย์ท่านใด ในชั้นเรียนกล่าวคำถามในชั้นเรียนว่า ใครใช้บริการ เฟสบุ๊ค(Facebook )บ้าง? ถ้ามีนักเรียนคนใด คนหนึ่งในชั้นเรียน ตอบว่า ไม่เคยใช้ เฟสบุ๊ค คงเป็นคนที่ล้าสมัย เพราะคนส่วนมากใช้ บริการเฟสบุ๊ค เป็นช่องทางในการติดต่อ สื่อสารกันในปัจจุบัน
          บริการเฟสบุ๊ค(Facebook ) เป็นหนึ่ง ในบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2004 โดยผู้คิดค้นคือ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก โดยปัจจุบัน เฟสบุ๊คได้รับความนิยมทั่วโลก หากเข้าดูข้อมูลในเว็บ www.checkfacebook.com ที่เป็นเว็บสำหรับแจ้งผู้ใช้บริการของบริษัทแห่งนี้ ยอดข้อมูลผู้ใช้บริการเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมจะมียอดผู้ใช้บริการทั่วโลก มีมากถึง720,584,160 ล้านคน ใน ส่วนผู้ใช้บริการในไทยมีมากถึง11,698,220 คน
           ผู้เขียนเองเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี และใช้บริการ เฟสบุ๊ค ตามกระแสคนที่ใช้เทคโนโลยีทั่วไป โดยมีบุคคลทีรับเป็นสมาชิก 981 คน ผู้เขียนใช้เป็นช่องทางในการติดต่อ สื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างบุคคลที่รู้จัก ผู้เขียนเฝ้าสังเกตพฤติกรรมสมาชิกที่ใช้เฟสบุ๊คสามารถวิเคราะห์บุคคลที่ใช้ เฟสบุ๊ค เป็นช่องทางในการสื่อสารแล้ว แบ่งประเภทตามกลุ่มคนที่ใช้งาน พบว่า มีดังนี้
          1. กลุ่มคนที่ใช้เป็นช่องทาง มุ่งแสดงความคิดเห็นทัศนะของตนเอง หรือ การพรรณนา เช่น พรรณนาตัวเอง รำพึงรำพันตนเอง หรือ ความรัก ฯลฯ อาจเป็นข้อความสั้นๆ หรือ บทกลอน ซึ่งกลุ่มนี้จะเน้นไปทางด้านการบันเทิงมากกว่า
          2. กลุ่มคนที่เก็บกด หรือ กลุ่มที่อยากแสดงความสามารถ คือ ใช้เป็นเครื่องมือแห่งอำนาจ ระบายอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเอง ใช้สื่อเป็นช่องทางปลอดปล่อยเรื่องบางเรื่องพูดไม่ได้ เช่น เกลียดคนนั้น แอบชอบคนนั้น เบื่อเจ้านาย หรือ บอกข้อดีของตนเอง ความสามารถพิเศษ ฯลฯ
         3. กลุ่มคนที่ชอบสื่อสาร หรือเรียกได้ว่านักสื่อสาร โดย รับความรู้ใหม่ๆ หรือมุ่งเน้นให้ความรู้ คือ ใช้ติดต่อสื่อสาร คุยเรื่องงาน สนทนาทั่วไป เขียนบทความ หรืออัพเดตข่าวสาร ใหม่ๆ เช่น ข่าว การท่องเทียว ความสวยความงาม การเรียน กิจกรรมทำร่วมกัน หรือแม้แต่เขียนงานวิชาการ ฯลฯ
          4. กลุ่มคนที่ขายสินค้าและบริการ เช่น อาชีพรับจ้างโพสต์ ข้อความ การตลาด ฝ่ายประชาสัมพันธ์สินค้าต่างๆ ฯลฯ
          5. กลุ่มใช้เป็นแสดงออกทางเพศ เช่น หาแฟน หาสามี หาภรรยา หากิ๊ก และกลุ่มที่ขายบริการ ฯลฯ
          6. กลุ่มคนที่สมัครไว้เล่นเกม
          7.กลุ่มคนสมัครไว้โพสรูปภาพ สถานที่ท่องเที่ยว อาหาร ดอกไม้ ผู้คน ฯลฯ
          8.พวกสมัครไว้ตามกระแส ขอให้มีไว้ก่อนไม่เชย
          9.ใช้สำหรับที่ทำงาน ในการติดต่อประสานงาน หรือเผยแพร่ข่าวสาร
        10. กลุ่มที่สมัครไว้เฉยๆ ไม่เล่น แต่คอยสังเกตพฤติกรรมของสมาชิก และรับข่าวสาร

                 โดยการใช้งานในแต่ละประเภทเป็นไปตามลักษณะความเชื่อ ประสบการณ์ เพศและอายุ ของผู้ใช้แตกต่างกันไป แต่ผู้เขียนสนใจว่า เฟสบุ๊ค ทำให้เกิดสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ใหญ่มาก โดยทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป เทคโนโลยีก่อนหน้านี้มี โทรศัพท์ ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ในด้านการติดต่อสื่อสาร คือใช้ สนทนากัน ข้ามข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ เวลา โดยขยายการสื่อสารการได้ยินของมนุษย์ และเสียค่าบริการแก่ผู้ให้บริการ และปัจจุบัน เฟสบุ๊ค ได้เข้ามาเป็นสิ่งที่จำเป็น หนึ่งในการสื่อสาร ที่สะดวกกว่าโทรศัพท์ โดยใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ มือถือที่เรียกว่า สมาร์ทโฟน (smart phone) หรืออุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานได้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่ทำให้การติดต่อสื่อสารของผู้คนเปลี่ยนไป คือ เกิดหลอมรวมเทคโนโลยี (convergence technology )และมีกลุ่มที่เรียกว่าสังคมออนไลน์ :ซึ่งจะคอยกำหนดและหล่อหลอม วิธีคิด กรอบความเชื่อ ซึ่งเกิดจากเทคโนโลยีเปลี่ยนนี้เอง มีสำนักด้านการสื่อสารซึ่งได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไว้ได้อย่างสนใจ คือ ทฤษฎีสำนักโตรอนโต ซึ่งเป็นทฤษฎีที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี อธิบาย ว่าเทคโนโลยีการสื่อสาร เป็นพื้นฐานของทุกสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมไหน
เทคโนโลยีการสื่อสารแต่ละชนิดก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างสังคมที่ต่างชนิดกัน
             ขั้นตอนของเทคโนโลยีการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การคิดค้น ,การขยาย ,การควบคุม
ทุกครั้งที่มีการปฏิวัติ เทคโนโลยีการสื่อสาร สังคมมีการปฏิวัติ ผลกระทบการสื่อสารเปลี่ยน สำนึกเรื่องเวลา ,สำนึกเรื่องพื้นที่,ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์  ผู้เขียนหยิบยกทฤษฎีนี้มากล่าวอ้าง เพราะ เฟสบุ๊ค ถือว่าเป็น เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลง คือ ทำให้เกิดการปฏิวัติทางการสื่อสาร เพราะคนจะสื่อสารกันได้รวดเร็วขึ้น และมีเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น จนมีนักวิชาการสำนักนี้กล่าวว่าเป็น หมู่บ้านโลก คือ เทคโนโลยีการสื่อสาร ยุคที่โลกจะใหญ่ขนาดไหน แต่ก็ถูกย่อให้มีขนาดเล็ก คือคนบนโลกสามารถเสพข่าวสารได้เหมือนกัน หรือ เสพวัฒนธรรมร่วมกันได้ โดยมีองค์ประกอบของ คือ ข้อมูลเหมือนๆกัน พร้อมเพรียงกัน และทันทีทันใด
ผลทีเกิดขึ้นตามมา คือ ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ ของผู้ใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกจะถูกยุบรวมกัน คือคนเราจะแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และข้ามประเทศ ข้ามวัฒนธรรมกันมากขึ้น ความแตกต่าง และความเหมือนทางความคิดจะมีมากขึ้น ภายใต้ ความรวดเร็ว ข้อมูลที่มาพร้อมเพรียงกัน และมาเหมือนกัน และคนที่เล่น    เฟสบุ๊ค ใช้สื่อมากขึ้น แลกเปลี่ยนกันมากขึ้น ดังนั้นการตัดสินในของคนก็อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร เมื่อสื่อและช่องทางการสื่อสารเฟสบุ๊คมีอิทธิพลมาก แม้เฟสบุ๊ค จะมีประโยชน์ ต่อการสื่อสาร ขณะเดียวกัน ก็มีผลกระทบตามมาเฉกเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ เฟสบุ๊คเข้ามาแทรกเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน คนและสังคมเริ่มเข้าสูยุคแห่งข่าวสาร คือ การตัดสินใจทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานข้อมูลข่าวสาร ผ่านทางสังคมออนโลน์ สังเกตง่ายๆว่า เช้าๆ บนรถโดยสารสาธารณะ หรือรถไฟฟ้า จะเห็นผู้คนอยู่กับมือถือ หรือเครื่องมือสื่อสารเพื่อดูข่าวสาร หรือ อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคม
           ในอดีตสื่อใช้เป็นเครื่องมือมากมาย เช่น ในการเมืองในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุคที่นาซีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว อิตเลอร์ ใช้สื่อวิทยุ และภาพยนตร์ในการปลุกระดมให้คนเยอรมันลุกมาเข่นฆ่า ชาวยิว หรือ ใน อเมริกายุคหนึ่งคนอเมริกาแตกตื่น มนุษย์ต่างดาว บกโลก โดยคนเชื่อข่าวรายการวิทยุ หรือยุคที่ละครทีวีและภาพยนตร์ เจริญก้าวหน้า ก็มีคำถามตามมามากมายเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อความรุนแรงของคนในสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน หรือการเข้ามาของโลกออนโลน์ ในเทคโนโลยี ผ่านคอมพิวเตอร์ ก็มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมากมาย ว่ามีทั้งด้านดี และด้านลบ แน่นอนสื่อนอกจากเป็นเครื่องมือการสื่อสาร ติดต่อระวังกัน อย่างลืมไปว่า คนที่เข้ามาสื่อสารในโลกอินเตอร์เน็ตเฟสบุ๊คก็มีหลายประเภท เฉกเช่นเดียวกัน เหมือนที่ผู้เขียนได้หยิบยกแยกประเด็น ประเภทคนที่เล่นเฟสบุ๊ค ว่าแต่ละคนที่เล่นมีเป้าประสงค์ต่างกัน ที่ชัดเจนมากที่สุด คือ กลุ่มที่เข้ามาค้าสินค้าและบริการ เขาย่อมมีเป้าประสงค์ในการขายสินค้าของบริษัทของเขา หรือ .กลุ่มคนที่เก็บกด หรือ กลุ่มที่อยากแสดงความสามารถ ก็อยากแสดงให้เห็นการยอมรับ.
           ที่ผู้เขียนยกตัวอย่างมา เพื่อแสดงให้เห็นว่า การที่เราจะเลือกใครเป็นเพื่อนในโลกออนไลน์ ในเฟสบุ๊ค เรารู้จักเขาดีพอ หรือ เราเปิดรับเพื่อนใหม่เพราะอะไร ?และสิ่งที่ผู้เขียนอยากตั้งคำถามมากที่สุดคือ ผู้ใช้ที่เล่นเฟสบุ๊ค ตอนนี้เท่าทัน เทคโนโลยี เท่าทัน เฟสบุ๊คมากน้อยเพียงใด หรือเราเป็นผู้ใช้มัน หรือตอนนี้เราถูกเฟสบุ๊คมันใช้งานเราอยู่ จนเป็นหน้าที่ที่เราต้องเข้ามาออนไลน์เสมอ เพื่อยอกกับใครๆว่าเราคิดเราทำอะไร หรือ ตอนนี้เราอยากเป็นบุคคลสาธารณะ สื่อหล่อหลวมเรา หรือเราจะเป็นผู้กำหนด ตัวเรา...